ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Drone Phone


Drone Phone




Drone Phone สมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่สามารถบินได้
แอลจี (LG) แบรนด์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชื่อดังจากเกาหลี ตกเป็นข่าวเตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่สามารถบินได้เหมือนโดรน เบื้องต้น ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม แต่มีการระบุว่า สมาร์ทโฟนรุ่นนี้จะมีโหมด Flying Face time ให้ผู้ใช้ที่มือไม่ว่างสามารถคุยวิดีโอคอลกับปลายสาย โดยที่สมาร์ทโฟนนี้สามารถลอยมาจับภาพใบหน้าผู้ใช้ได้ชนิดไม่ต้องเมื่อยมือ
สมาร์ทโฟนเครื่องร่อนลูกผสมนี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “โดรนโฟน” (Drone Phone) ชื่อรุ่นที่แอลจี ใช้ในการพัฒนา คือ แอลจี ยูพลัส (LG U+) ตัวแนวคิดวิดีโอนี้ถูกเปิดตัวเมื่อปลายปี 2016 ก่อนจะถูกดึงมานำเสนอในฐานะไวรัลวิดีโอ ที่ผู้ชมนิยมส่งต่อมากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับสมาร์ทโฟนทูอินวัน โดรน และโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้ ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถทำวิดีโอคอลหรือเซลฟีได้ โดยที่เครื่องลอยอยู่บนอากาศ จุดนี้มีรายงานว่า LG U+ สามารถหมุนวนเพื่อจับภาพได้แบบ 360 องศา ทำให้ผู้ใช้ที่กำลังทำกิจกรรมทุกชนิด สามารถบันทึกภาพวินาทีประทับใจได้ ทั้งขณะปีนหน้าผา บันจี้จั๊ม หรือทำอาหาร
ความเป็นโดรนทำให้ LG U+ สามารถร่อนวนรอบตัวผู้ใช้ได้อย่างนิ่มนวล ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า โดรนโฟนนี้สามารถลอยมาชาร์จไฟได้เอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถส่องสว่างด้วยแสงไฟแฟลชขนาด 5000cd ทำให้ผู้ใช้สามารถเดินในที่มืดพร้อมไฟฉายส่วนตัวที่ลอยอยู่ข้างตัว
อีกชื่อของโครงการพัฒนาสมาร์ทโฟนเครื่องร่อนนี้ คือ 505 BY LGU+ ข้อมูลจากวิดีโอเปิดตัวพยายามแสดงว่า แอลจีสามารถพัฒนาเครื่องต้นแบบได้สำเร็จแล้ว แต่ขณะนี้แอลจีก็ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดการเปิดตัวใด ๆ ทำให้ไม่มีความชัดเจนว่า LG U+ เป็นโครงการที่จะเปิดตัวได้เมื่อไร

ก่อนหน้านี้ LG เคยเปิดตัวลำโพงไร้สายลอยได้ระบบเสียงรอบทิศทาง 360 องศา ที่งานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค CES 2017 โดยลำโพงบลูทูธ “พีเจไนน์” (PJ9) เป็นลำโพงไร้สายที่ลอยได้อยู่บนอากาศ เพราะเทคโนโลยีแม่เหล็กไฟฟ้าภายในแท่นควบคุมการลอย หรือ Levitation Station ซึ่งตั้งอยู่ด้านล่างลำโพง แบตเตอรีในตัวใช้งานต่อเนื่องได้ 10 ชั่วโมง แต่เมื่อนำมาวางบนแท่น Levitation Station จะเป็นการชาร์จแบตเตอรีแบบไร้สายอัตโนมัติ ลำโพงดังกล่าวยังไม่วางจำหน่ายในขณะนี้.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS 1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS   การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

ISP คืออะไร

ISP ISP คืออะไร ทำหน้าที่อะไร จากที่ได้เกริ่นมาแล้วเบื้องต้นถึงหน้าที่บ้างส่วนของ ISP แล้ว หลายคนคงอยากรู้ว่า ISP คืออะไร ISP ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ซึ่งเป็นหน่วยงานและองค์กรที่ให้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เมื่อเราเรียกเปิดใช้งานเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ คำสั่งที่เราร้องขอจะผ่านเข้าไปยัง ISP เพื่อให้ ISP ช่วยเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เราต้องการ ข้อดีของการมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลาย ๆค่ายนั้นก็คือ จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศนั้นสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เร็วขึ้น เพราะมีการแข่งขันด้านความเร็วนอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ถูกลงด้วยเนื่องจากมีการแข่งขันด้านราคาและเทคโนโลยีอยู่เสมอ รูปแบบการให้บริการของ ISP เมื่อเทียบกับสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีอินเตอร์เน็ตใช้งานครั้งแรกเรามีเพียง ISP เพียงค่ายเดียวเท่านั้นก็คือ CAT บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งในเวลานั้นทั้งความเร็วที่มีระดับต่ำและไม่ค่อยเสถียร รวมถึงราคาในการใช้อินเตอร์เน็ตก็สูงด้วย แต่หลังจากเปิดเสรีมีบริษัทเอกชนเข้ามาแข่งขันกันทำให้ประสิทธิภาพกา