ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

QR,VR,AR

กลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Quick Response:QR)


มื่อกล่าวถึงกลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Quick Response) ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มที่ได้นำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิต สิ่งสำคัญอยู่ที่การจัดการวางแผนเรื่องเวลาเพราะงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ตามมาอย่างมากมาย เนื่องจากธุรกิจด้านสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง ซึ่งเครื่องมือที่จะนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ    ที่ทำให้เกิดการผลิตสินค้าออกมาแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการตามหลักกลยุทธ์ Quick response เป็นการลดสินค้าคงคลังลงลดระยะเวลาการผลิตในแต่ละช่วงและ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วและส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบตามหลักกลยุทธ์  Quick  response  คือพยายามพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดความรวดเร็วในการส่ง/รับข้อมูลข่าวสาร พัฒนา Software และ ความสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในการทำงาน
หลักการของ Quick response
  การควบคุมคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้
-     การจัดการเวลาและวางแผนตารางเวลาในการจัดการสินค้าในโรงงานอุตสาห-กรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
-     ข้อมูลสินค้าควรมีรายละเอียดครบถ้วน
-     มีการวางแผนตั้งแต่การซื้อขายวัตถุดิบและสินค้า รวมถึงการพยากรณ์คาดการณ์การผลิตสินค้าในอนาคต จนกระทั่งถึงการส่งมอบสินค้า
-     แหล่งวัตถุดิบและโรงงานต้องมีการควบคุมได้
-     การจัดการสำหรับสินค้าคงคลังอย่างมีระบบ
-     มีการจัดทำระบบข้อมูลราคาขาย

-     ในระบบการจัดการจากบลงล่างต้องเป็นการจัดการที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน รวมถึงการที่มีทีมเวอร์คที่แข็งแกร่ง มีความไว้วางใจกันในการทำงาน
-     นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อพัฒนา  กระบวนการผลิตตลอดจนถึง
     การจำหน่ายสินค้า
  การสื่อสาร
-     การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ Quick response ประสบความสำเร็จ
-     ระบบดิจิตอลในการสื่อสารที่สำคัญต้องมีการนำ Bar codes และ EDI เข้ามาช่วยในการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
 ความร่วมมือกัน
มีหลักการดังนี้
-      ต้องมีการส่งข้อมูลข่าวสารถึงกัน
-      ตั้งรูปแบบต่างๆให้เกิดการทำงานร่วมกันและกระทำการ ภายใต้ความเห็นร่วมกัน มีการตัดสินใจร่วมกัน
-      มีการเชื่อใจและเชื่อมั่นระหว่างผู้ร่วมงาน
แนวคิดของการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
               การตอบสนองอย่างรวดเร็ว เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าใหม่ ๆ การพัฒนาสินค้า และ การบริการสินค้า จำแนกเป็น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ในประเด็นต่อไปนี้
1. การใช้เวลาน้อยลงในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆให้ออกสู่ตลาด
 2. การใช้เวลาน้อยลงในการประกอบสินค้า ให้พร้อมใช้งาน
 3. การใช้เวลาน้อยลงในการขนส่งสินค้า จากผู้ผลิต ไปให้ผู้แทนจำหน่าย หรือ ผู้ขาย หรือ ผู้ซื้อ
 4. การใช้เวลาน้อยลงในการปรับตัวของสินค้า ให้เข้ากับตลาดใหม่ๆ เช่น สินค้าจากตลาดในออสเตรเลีย มายังตลาดประเทศไทย เป็นต้น
5. การใช้เวลาน้อยลงในการให้คำตอบแก่ลูกค้า ที่มีการสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้า หรือ ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การอนุมัติซื้อเงินผ่อน ฯลฯ
หลักการในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
 1. ใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
 2. ต้องรู้เงื่อนไขและความต้องการของลูกค้าแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนาดของความเร่งด่วนของความต้องการให้ส่งมอบสินค้านั้น ต่อลูกค้า
  3. ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทั้งมิติของเวลา ที่วัดเป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน หรือ เดือน และ มิติของความรู้สึกของลูกค้าว่า เร็ว หรือ ช้า
   4. ต้องรู้ขีดความสามารถ ข้อจำกัด เงื่อนไข และ ความเป็นไปได้ของตน ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า อย่างถูกต้อง แน่นอน และ ชัดเจน ตามความเป็นจริง
   5. ต้องสามารถวิเคราะห์ สรุป และ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างตรงประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นความต้องการหลักของลูกค้า และ สามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะเป็นการให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า หรือ ไม่สามารถให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า แต่ต้องมีความซื่อตรงและจริงใจต่อลูกค้าอยู่เสมอ
วิธีการในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
                จากการประยุกต์กิจกรรมตามห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Activities) พบว่า การลดเวลาในการปฏิบัติงานนั้น สามารถทำได้ในหลายขั้นตอนและหลายวิธีการ เช่น

1. การลดเวลาในการจัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า/บริการ
2. การลดความล่าช้าของการขนส่งวัตถุดิบ
3. การพัฒนาความพร้อม ให้สามารถเริ่มปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ติดขัด ไม่เกิดความผิดพลาด จึงไม่เสียเวลาในการทำใหม่ หรือ ไม่ต้องเสียเวลาในการต้องมาแก้ไขความผิดพลาด
 4. การพัฒนาระบบงานการผลิต ให้ง่าย สะดวก และ รวดเร็วขึ้น โดยมีมาตรฐานการทำงานที่แน่นอน ชัดเจน เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง
  5. การทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ตามหลักการของ PERT (Program Evaluation and Review Technique) ทำให้สามารถลดเวลาในการทำโครงการนั้นโดยรวมได้
   6. การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานในกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา ไม่ข้ามขั้นตอน จะช่วยลดอันตราย และ อุบัติเหตุ ที่จะทำให้เกิดความล่าช้าและความเสียหายมากๆ
  7. การดูแลป้องกันมิให้เกิดความขัดข้องในการผลิต
   8. การลดเวลาในการขนส่งสินค้าที่ผลิตแล้ว ไปยังผู้แทนจำหน่าย หรือ ผู้ขาย หรือ ผู้ซื้อ
   9. การส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับสินค้า ให้สามารถลดเวลาลงได้
   10. การพัฒนาผู้บริหาร ให้มีวิสัยทัศน์ที่ดี รอบคอบ ว่องไว ตัดสินใจเร็วและถูกต้อง
  11. การฝึกอบรมให้พนักงานขาย หรือ ผู้ให้บริการ ซึ่งมีจำนวนมาก สามารถให้ข้อมูล ให้คำแนะนำ ตอบข้อสงสัยพื้นๆ ที่ถูกต้อง ให้กับลูกค้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการให้คำตอบแก่ลูกค้า ที่มีการสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้า หรือ ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกัน แต่ต้องแน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจห้ามเดาส่ง ให้ตอบขออภัยพร้อมทั้งใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้และความสามารถมากยิ่งๆขึ้น
  12. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงาน
  13. การนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาใช้ในการทำงาน
  14. การส่งของทันที ลดเวลารอคอย
  15. การรับการสั่งของ (Order) ที่รวดเร็ว
  16. การกระจายที่ตั้งของสถานบริการ ให้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มั่นใจได้ว่า เมื่อใดที่ลูกค้าต้องการสินค้า/บริการ จะสามารถเข้าถึง/มารับบริการ และได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงอย่างรวดเร็ว แน่นอน และ พึงพอใจ ตลอดเวลา

ประโยชน์ของ Quick response
-      เพิ่มจำนวนยอดการผลิต
-      ลดจำนวนสินค้าคงค้าง Stock  สินค้าได้ราคาดีไม่ต้องลดราคา
-      ลดต้นทุนทำให้ราคาขายต่ำลง      
-      มีกำไรมากขึ้นและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ค้าปลีก
-      เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศ
 ดังนั้นเมื่อเห็นประโยชน์ของ Quick  response    จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่จะมาศึกษากลยุทธ์นี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ

ความเป็นจริงเสมือน ( virtual reality: VR



หมายถึง การที่มนุษย์สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้เกินกว่าความเป็นจริงปกติ กล่าวคือการที่มนุษย์มีส่วนร่วมกับบรรยากาศที่เปรียบเสมือนจริงแต่มีความรู้สึกที่ดีและเกินจริงแต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอยู่จริงเกิดจากการสร้างขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยี โดยปกติแล้วจะมีฮาร์ดแวร์ที่ป้อนตรงต่อประสาทสัมผัสด้านการเห็น เป็นที่สวมศีรษะที่มีจอป้อนภาพ (Head-Mounted Display - HMD) ให้ตาทั้งสองได้เห็นภาพเป็นสามมิติจากจอภาพขนาดเล็กที่ให้ภาพ (หรือต่อไปอาจลดขนาดลงเป็นแว่นตาก็ได้) และเมื่อผู้ใช้เคลื่อนไหว ภาพก็จะถูกสร้างให้รับกับความเคลื่อนไหวนั้น บางกรณีก็จะมีหูฟังแบบสเตอริโอให้ได้ยินเสียงรอบทิศทาง และอาจมีถุงมือรับข้อมูล(data glove) หรืออุปกรณ์อื่นที่จะทำให้ผู้ใช้โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมจำลองที่ตนเข้าไปอยู่ การสร้างขึ้นจะเลียนแบบมาจากความจริงแต่สามารถมองเห็นได้ในระบบสามมิติ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของนักธุรกิจบางส่วนมาก เพราะสามารถดัดแปลงไปใช้ในงานหลายๆด้าน เช่นงานด้านสารสนเทศ อาศัยความจริงเสมือน เพื่อเรียกให้ผู้คนมาสนใจด้านสารสนเทศ กระตุ้นประสาทสัมผัสของมนุษย์ให้รับรู้และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นผลดีต่อมนุษย์ที่รับรู้ได้รวดเร็วและง่ายต่อการจดจำ
Virtual reality หรือ VR คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั้งกลิ่น โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมาตัวอย่างเช่น การจำลองสถานที่ google s

ความเป็นจริงเสริมหรือความเป็นจริงแต่งเติม (  Augmented Reality Technology :AR ) 

ป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างความเป็นจริง และ โลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง
เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์และแบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง ซึ่งในทางเทคนิคแล้วภาพสัญลักษณ์ที่ใช้ จะนิยมเรียกว่า “Marker”  หรืออาจจะเรียกว่า AR Code ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟต์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา
ขั้นตอนการทำเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1. การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Marker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker การวิเคราะห์ภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทำงาน (Marker based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่างๆ ที่อยู่ใน ภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR)
2. การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Marker เทียบกับกล้อง
3. กระบวนการสร้างภาพสองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่ง เชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง
องค์ประกอบของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย
1.AR Code หรือตัว Marker ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุ
2.Eye หรือ กล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ ใช้มองตำแหน่งของ AR Code แล้วส่งข้อมูลเข้า AR Engine
3AR Engine เป็นตัวส่งข้อมูลที่อ่านได้ผ่านเข้าซอฟต์แวร์หรือส่วนประมวลผล เพื่อแสดงเป็นภาพต่อไป
4.Display หรือ จอแสดงผล เพื่อให้เห็นผลข้อมูลที่  AR Engine ส่งมาให้ในรูปแบบของภาพ หรือ วีดีโอ
หรืออีกวิธีหนึ่ง เราสามารถรวมกล้อง AR Engine และจอภาพ เข้าด้วยกันในอุปกรณ์เดียว เช่น โทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ

Augmented reality หรือ AR คือ การรวม สภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, เทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้
ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ เกม Pokemon Go ถือเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญของนักเล่นเกมทั่วโลก



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS 1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS   การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

ระบบ SAP

       ระบบ  SAP                 SAP เป็นระบบขนาดใหญ่ที่ได้รวมเอาโซลูชั่นต่างๆ เข้ามารวมไว้ในระบบ โดยสามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานเฉพาะโซลูชั่นที่ต้องการได้ และหากมีหลายโซลูชั่นก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม ปัจจุบันนี้โปรแกรมเมอร์มากมายต่างหันมาสนใจ SAP กันมากขึ้น โซลูชั่นที่ SAP รองรับนั้นมีมากมาย อาทิ ระบบไฟแนนซ์ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบคนไข้ในโรงพยาบาลบางแห่ง โดยระบบงานต่างๆ ในแต่ละส่วนเหล่านี้เอง คือ ส่วนที่เรียกว่า "โมดูล" หากคุณจะเริ่มศึกษา SAP นั้นคุณจะต้องทราบก่อนว่าคุณจะศึกษาในส่วนใด และนำไปใช้กับงานลักษณะใด ซึ่ง SAP จะแบ่งระบบงานต่างๆ แยกย่อยเป็นโมดูล ซึ่งแต่ละโมดูลเป็นอิสระต่อกัน และสามารถนำเอาข้อมูลในแต่ละส่วนมาเชื่อมโยงกันได้                SAP ประกอบไปด้วยการทำงานมี 3 ลักษณะคือ Functional ,Basis ,Abap Programming จะแบ่งเป็น R3 และ Net Weaver Version - Functional คือ ลักษณะงานเป็นแบบ Consultant คือให้คำปรึกษา, วางรูปแบบการทำงาน จัดการ Process ต่า