ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Cloud Computing

Cloud Computing

            Cloud Computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะการทำงานโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น พื้นที่เก็บข้อมูล แพลตฟอร์มทางธุรกิจ แอปพลิเคชัน พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ การตลาดออนไลน์ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถเลือกใช้งานได้ผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet Service Provider : ISP) ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากร ให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น และจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือระบบโปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และรับข้อมูลแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเดิมการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมและเปิดใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office (Word, Excel, PowerPoint ฯลฯ) แต่ Cloud Computing จะเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ตามแต่ผู้ให้บริการจะเตรียมไว้ให้ เช่น Google Docs, Office 365 โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
            Cloud computing เน้นการขยายตัวได้ อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตาม ความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากร โดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับ พื้นฐานการทำงานนั้น ส่วนใหญ่จะให้บริการใน ลักษณะของเว็บแอปพลิเคชันโดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของ ผู้ให้บริการ
รูปแบบการให้บริการของ Cloud Computing
            1. Software as a Service: SaaS เป็นการให้บริการด้านซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันผ่านทางอินเทอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน (Pay as you go) เช่น ตามจำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้งานทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำาเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของฮาร์ดแวร์และค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมดให้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่สนใจว่าซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเหล่านี้ติดตั้งอยู่ที่ไหน ประมวลผลอยู่บนเซิร์ฟเวอร์อะไร
            2. Platform as a Service : PaaS เป็นการให้บริการด้านแพลตฟอร์ม สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันโดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมสิ่งที่จ าเป็นต้องใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน เช่น เว็บ
แอปพลิเคชัน เซิร์ฟเวอร์ที่จัดเก็บฐานข้อมูล ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และ Middleware อื่นๆ โดยบริการทั้งหมดท างานภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและสามารถเรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน
            3. Infrastructure as a Service: IaaS เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เซิร์ฟเวอร์ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และระบบจัดเก็บข้อมูล ทำงานอยู่บนระบบเสมือน (Virtualization) เพื่อรองรับการใช้งานซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
            4. Storage as a Service: SaaS เป็นการให้บริการระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ไม่จ ากัด รองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง
            5. Composite Service: CaaS เป็นการให้บริการส่วนทำหน้าที่รวมโปรแกรมประยุกต์หลายโปรแกรม หรือจัดลำดับการ เชื่อมโยงแบบกระแสงานข้ามเครือข่าย รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัย
            6. Anything as a Service: XaaS นี้เป็นคำทั่วไปซึ่งหมายถึงการให้บริการใด ๆ ที่สามารถใช้ได้เป็นบริการคลาวด์เปิดการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต บางครั้งจะเรียกว่า 'as-a-Service ทุกอย่าง ซึ่งจะรวมถึง SaaS, DaaS, PaaS และ IaaS ฯลฯ.
ประเภทของ Cloud Computing
1. Private Cloud คือ ระบบที่ทำงานอยู่บน Cloud และบริหารจัดการโดยบริษัทหรือองค์กร เพื่อการใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ผู้ให้บริการและผู้ใช้สามารถควบคุมและปรับปรุงระบบความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง

2. Public Cloudคือ ระบบที่ทำงานอยู่บน Cloud แบบสาธารณะที่ดูแลจัดการโดยผู้ให้บริการภายนอกผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จะมีสิทธิในการควบคุมที่จำกัดขึ้นอยู่กับการมอบสิทธิของผู้ให้บริการ PublicCloud มีทั้งบริการที่เสียค่าใช้จ่าย เช่น Windows Azure,SQL Azure และบริการฟรี เช่น Windows Live
3. Community Cloudคื อ ระบบที่สร้างขึ้นมาระหว่างองค์กรเป็นเครือข่ายสังคมเฉพาะกลุ่มที่มีความสนใจหรือต้องทำงานร่วมกัน สามารถเข้าใช้งานได้ เพื่อใช้เป็นมาตรฐาน หรือใช้ในการแก้ไขปัญหา
4. Hybrid Cloud คือ ระบบที่ผสมผสานระหว่าง Private Cloud และPublic Cloud ทำให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้สามารถขยายศูนย์ข้อมูลไปยัง Public Cloud เพื่อการใช้งานเฉพาะอย่าง และยังกลับมาใช้ Private Cloud ได้เมื่อต้องการเช่นกัน

ข้อดีของ Cloud Computing
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง เช่น ค่าจ้างพนักงานค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
ข้อเสียของ Cloud Computing
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าถึงทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการแม่ข่ายที่อยู่ภายในองค์กร
2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
3. แพลตฟอร์มยังไม่มีมาตรฐาน ทำให้ผู้ใช้มีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS 1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS   การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

ระบบ SAP

       ระบบ  SAP                 SAP เป็นระบบขนาดใหญ่ที่ได้รวมเอาโซลูชั่นต่างๆ เข้ามารวมไว้ในระบบ โดยสามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานเฉพาะโซลูชั่นที่ต้องการได้ และหากมีหลายโซลูชั่นก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม ปัจจุบันนี้โปรแกรมเมอร์มากมายต่างหันมาสนใจ SAP กันมากขึ้น โซลูชั่นที่ SAP รองรับนั้นมีมากมาย อาทิ ระบบไฟแนนซ์ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบคนไข้ในโรงพยาบาลบางแห่ง โดยระบบงานต่างๆ ในแต่ละส่วนเหล่านี้เอง คือ ส่วนที่เรียกว่า "โมดูล" หากคุณจะเริ่มศึกษา SAP นั้นคุณจะต้องทราบก่อนว่าคุณจะศึกษาในส่วนใด และนำไปใช้กับงานลักษณะใด ซึ่ง SAP จะแบ่งระบบงานต่างๆ แยกย่อยเป็นโมดูล ซึ่งแต่ละโมดูลเป็นอิสระต่อกัน และสามารถนำเอาข้อมูลในแต่ละส่วนมาเชื่อมโยงกันได้                SAP ประกอบไปด้วยการทำงานมี 3 ลักษณะคือ Functional ,Basis ,Abap Programming จะแบ่งเป็น R3 และ Net Weaver Version - Functional คือ ลักษณะงานเป็นแบบ Consultant คือให้คำปรึกษา, วางรูปแบบการทำงาน จัดการ Process ต่า