ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โปรแกรม SPSS , โปรแกรม PASW

โปรแกรม SPSS



            เอสพีเอสเอส (SPSS) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ บริษัทจัดจำหน่าย SPSS ถูกซื้อโดย IBM เมื่อเดือนมิถุนายน 2552และปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า "SPSS: An IBM Company"
            SPSS เดิมชื่อว่า "Statistical Package for the Social Sciences" (ชุดโปรแกรมสถิติเพื่อสังคมศาสตร์) ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2511 หลังจากถูกพัฒนาโดย Norman H. Nie และ C. Hadlai Hull Norman Nie ในขณะนั้นเป็นนักศึกษารัฐศาสตร์ภาคบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์วิจัยที่ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก SPSS เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติในสังคมศาสตร์ มันถูกใช้โดยนักวิจัยตลาด นักวิจัยสุขภาพ บริษัทสำรวจความคิดเห็น รัฐบาล นักวิจัยการศึกษา บริษัทการตลาด ฯลฯ คู่มือการใช้งาน SPSS ฉบับแรก (Nie, Bent & Hull, 1970) ถูกอธิบายว่าเป็นหนึ่งใน "หนังสือที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสาขาสังคมวิทยา"นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว การจัดการข้อมูล (การเลือกกรณีศึกษา, การแปลงแฟ้ม, การสร้างข้อมูลสืบทอด) และการทำเอกสารข้อมูล (พจนานุกรมเมทาเดตาจะถูกเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล) ก็เป็นความสามารถของซอฟต์แวร์รุ่นพื้นฐาน

ความสามารถของโปรแกรม SPSS for windows
         1. ความสามารถในการจัดการโปรแกรม
             โปรแกรมได้กำหนดให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลตัวแปรได้หลากหลาย เช่น
                   1. การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูล ได้แก่ การคำนวณข้อมูลเพื่อสร้างตัวแปรใหม่ การเปลี่ยนค่าข้อมูล
                   2. การสร้างตัวแปรใหม่และการเพิ่มข้อมูล ได้แก่ การสร้างตัวแปร, การเพิ่มข้อมูล
                   3 .การเลือกข้อมูลเฉพาะ เช่น เลือกข้อมูลเพศหญิง เลือกข้อมูลเฉพาะผู้ที่ตอบว่า"ใช่"เป็นต้น
                   4 .การสร้างข้อมูลแบบอนุกรมเวลา
                   5 .การเรียงลำดับข้อมูล
                   6 .การให้น้ำหนักหรือความสำคัญแก่ชุดข้อมูล
                   7. การสับเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแถวและคอลัมน์
                   8 .การกำหนดโครงสร้างของข้อมูลใหม่
          2. ความสามารถในการวิเคราะหฺ์ข้อมูล
                    2.1 การสรุปลักษณะของข้อมูล ได้แก่
                             1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลุ่ม ได้แก่ การแจกแจงความถี่
                             2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การคำนวณหาค่าสถิติเบื้องต้น
                    2.2 การใช้ข้อมูลตัวอย่างสรุปลักษณะของประชากร
                             1 .การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
                             2. การวิเคราะห์ความสำคัญของตัวแปรเชิงกลุ่ม
                             3. การหาความสัมพันธ์
                             4. การวิเคราะห์การถดถอย
                             5. การตรวจสอบลักษณะของประชากร
                             6. การทดสอบสถิติไม่ใช้พารามิเตอร์
          3. ความสามารถในการนำเสนอข้อมูล
                1 .การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง
                 2 .การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟ ได้แก่ กราฟแท่ง, กราฟเส้น, กราฟวงกลม และ กราฟฮิสโตแกรม
          4. ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล
              1. การดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลอื่นมารวมกัน เช่น การเพิ่มข้อมูลจากแฟ้มอื่น, การเพิ่มตัวแปรจากแฟ้มอื่น
             2 .การดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูล เข้ามาใช้งาน เช่น D Base files, Microsoft Excel, Text files, Microsoft Access files เป็นต้น

              3 .การนำผลลัพท์ที่ได้ไปใช้กับโปรแกรมอื่น เช่น โปรแกรม Microsoft Word, Microsoft Excel เป็นต้น


โปรแกรม PASW (Predictive Analytics SoftWare) Statistics 18
การบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม PASW Statistics
- เตรียมตาราง Data Editors เพื่อกรอกข้อมูล  แถวตามแนวนอน (row) แทนผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ราย /
แถวตามแนวตั้ง (column) แทน 1 `คำถามในแบบสอบถาม
- เตรียมข้อมูล Variable View กำหนดค่าต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย
1. ตัวแปร (Name Variable) ตั้งชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร เป็นคล้ายๆ ชื่อเล่น เช่น edu
2. ฉลากตัวแปร (Label) เป็นชื่อจริง เช่น education
3. ค่าฉลาก (Value) กำหนดค่า เช่น 1=ชาย 2=หญิง
4. ค่าสูญหาย (Missing) ใช้ 9, 99 (ไม่ตอบ)
5. ชนิดตัวแปร (Variable Type) เช่น numeric (ตัวเลข) string (อักขระ) date (วันที่)
6. รูปแบบสดมภ์ (Column)
7. ระดับการวัด (Measurement) ได้แก่ nominal, ordinal, scale (ซึ่งหมายถึง interval และ ratio)
            เราสามารถกรอกข้อมูลไว้ใน excel แล้ว copy มาแปะไว้ใน SPSS ได้ เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว จะใช้ SPSS ท าการประมวลผลเบื้องต้น เช่น การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ความถี่สะสม และค่าสถิติพรรณนาต่างๆ ได้แก่ mean, median, mode, sum โดยการเลือกค าสั่ง Analyze -> Descriptive statistics -> Frequencies แสดงตารางแจกแจงความถี่ (frequency table) และกราฟแท่ง แบบต่อเนื่อง (histogram) การแปรียบเทียบประชากร 2 กลุ่ม เช่น เพศที่ต่างกัน มีทัศนคติที่ต่างกันหรือไม่ จะใช้คำสั่ง Analyze -> Compare Mean -> Independent sample T-test และดูค่า Sig. หรือ P-value ถ้ามากกว่า 0.05 คือ ยอมรับสมมุติฐาน ที่ว่าค่าความแปรปรวนเท่ากัน (Equal variances) แต่ถ้าค่า Sig. น้อยกว่า 0.05 แปลว่า ปฏิเสธสมมุติฐาน ปกติเวลาเขียนบทความตีพิมพ์ เราจะไม่ใช้ค าว่าค่า Sig. เพราะค านี้ใช้เฉพาะโปรแกรม SPSS (อาจถูกฟ้องได้ถ้าไม่ซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรม) จะเลี่ยงมาใช้ค าว่า P-value แทน และถ้า P-value > 0.05 จะไม่พูด ว่า ทัศนคติของผู้ชายและผู้หญิง เหมือนกันแต่จะพูดว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญแทน
            ถ้าประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม จะใช้ One-way ANOVA เช่น ทัศนคติจำแนกตามช่วงอายุ ใช้คำสั่ง
Analyze -> Compare Mean -> One-way ANOVA ถ้าค่า Sig. ที่ได้ น้อยกว่า 0.05 แสดงว่า มีช่วงอายุบาง

กลุ่มที่มีทัศนคติไม่เหมือนกลุ่มอื่น สามารถใช้ Post Hoc หาว่าคู่ไหนที่ไม่เหมือนชาวบ้าน โดยมีตัวเลือกย่อยต่างๆเช่น LSD, Scheffe (ซึ่งนิยมเลือกทั้ง 2 ตัว) หรืองานวิจัยทางด้านชีววิทยา จะนิยมเลือก Duncan, Tukey (แต่ข้อเสียคือ สมาชิกแต่ละกลุ่ม ต้องมีจำนวนเท่ากัน) ในกรณีที่เป็นตัวแปรนามบัญญัติ (Nominal scale) ทั้งหมดเช่นเพศ หรือสถานภาพ กับชนิดของหนังสือที่อ่าน จะหาค่าความถี่ ร้อยละ และใช้คำสั่ง Analyze      ->Descriptive ->Crosstabs -> statistics (Chi-Square test) ถ้าค่า P-Value > 0.05 แสดงว่ายอมรับสมมุติฐาน Ho ตัวแปรทั้งสองตัวเป็นอิสระต่อกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS 1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS   การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

ISP คืออะไร

ISP ISP คืออะไร ทำหน้าที่อะไร จากที่ได้เกริ่นมาแล้วเบื้องต้นถึงหน้าที่บ้างส่วนของ ISP แล้ว หลายคนคงอยากรู้ว่า ISP คืออะไร ISP ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ซึ่งเป็นหน่วยงานและองค์กรที่ให้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เมื่อเราเรียกเปิดใช้งานเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ คำสั่งที่เราร้องขอจะผ่านเข้าไปยัง ISP เพื่อให้ ISP ช่วยเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เราต้องการ ข้อดีของการมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลาย ๆค่ายนั้นก็คือ จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศนั้นสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เร็วขึ้น เพราะมีการแข่งขันด้านความเร็วนอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ถูกลงด้วยเนื่องจากมีการแข่งขันด้านราคาและเทคโนโลยีอยู่เสมอ รูปแบบการให้บริการของ ISP เมื่อเทียบกับสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีอินเตอร์เน็ตใช้งานครั้งแรกเรามีเพียง ISP เพียงค่ายเดียวเท่านั้นก็คือ CAT บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งในเวลานั้นทั้งความเร็วที่มีระดับต่ำและไม่ค่อยเสถียร รวมถึงราคาในการใช้อินเตอร์เน็ตก็สูงด้วย แต่หลังจากเปิดเสรีมีบริษัทเอกชนเข้ามาแข่งขันกันทำให้ประสิทธิภาพกา