ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ISP คืออะไร


ISP
ISP
ISP คืออะไร ทำหน้าที่อะไร
จากที่ได้เกริ่นมาแล้วเบื้องต้นถึงหน้าที่บ้างส่วนของ ISP แล้ว หลายคนคงอยากรู้ว่า ISP คืออะไร ISP ย่อมาจากคำว่าInternet Service Provider ซึ่งเป็นหน่วยงานและองค์กรที่ให้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เมื่อเราเรียกเปิดใช้งานเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ คำสั่งที่เราร้องขอจะผ่านเข้าไปยัง ISP เพื่อให้ ISP ช่วยเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เราต้องการ ข้อดีของการมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลาย ๆค่ายนั้นก็คือ จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศนั้นสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เร็วขึ้น เพราะมีการแข่งขันด้านความเร็วนอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ถูกลงด้วยเนื่องจากมีการแข่งขันด้านราคาและเทคโนโลยีอยู่เสมอ

รูปแบบการให้บริการของ ISP
เมื่อเทียบกับสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีอินเตอร์เน็ตใช้งานครั้งแรกเรามีเพียง ISP เพียงค่ายเดียวเท่านั้นก็คือ CAT บริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งในเวลานั้นทั้งความเร็วที่มีระดับต่ำและไม่ค่อยเสถียร รวมถึงราคาในการใช้อินเตอร์เน็ตก็สูงด้วย แต่หลังจากเปิดเสรีมีบริษัทเอกชนเข้ามาแข่งขันกันทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานอินเตอร์เน็ตดีขึ้นเรื่อย และราคาในการใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ถูกลงตามไปด้วยเช่นกัน จนทุกวันนี้เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ในราคาที่ไม่แพงแล้ว
ในประเทศไทยเราจะแบ่งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) ซึ่งจะมีอยู่หลายค่ายด้วยกัน เราสามารถแบ่งเป็นค่าย ๆได้ดังนี้
1.1 ชมะนันท์เวิล์ดเน็ต (CMN)
1.2 เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต (KSC)
1.3 ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) Reach (TH)
1.4 จัสมินอินเทอร์เน็ต (JI-Net)
1.5 ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CS Loxinfo)
1.6 ดาต้าลายไทย (Dataline)
1.7 ฟาร์อิสท์ อินเทอร์เน็ต(Far East )
1.8 รอยเน็ท อินเทอร์เน็ต (Roy-Net)
1.9 แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (world net -Pacific Internet )
1.10 อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์( ISSP)
1.11 สามารถอินโฟเน็ต (Samart)
1.12 อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (Internet Thailand-INET)
1.13 อี่ซี่ เน็ต (E-Z Net)
1.14 เอเชีย อินโฟเน็ท (True internet)( Asia InfoNet)
1.15 เอ-เน็ต (A-Net)
1.16 ไอเดียเน็ต (IdeaNet)
1.17 ไออีซี อินเทอร์เน็ต (Asia Access)
1.18 บริษัท กสท โทรคมนาคม (CAT)
1.19 บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น (PROEN)
1.20 บริษัท แพคเน็ท อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด (PACNET)
1.21 บริษัท บีบี บรอดแบนด์ จำกัด
1.22 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
1.23 บริษัท เอ็น ที ที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
1.24 บริษัท มิลคอม ซิสเต็มซ์ จำกัด
1.25 บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด
1.26 บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด
รายชื่อบริษัทนี้เป็นผู้ให้บริการ ISP ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ โดยจะต้องเสียค่าบริการในการใช้งานเป็นรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือนซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานตามลักษณะความต้องการในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) มีรายชื่อดังต่อไปนี้
2.1 เครือข่ายไทยสาร (ThaiSarn)
2.2 เครือข่ายคนไทย (Khonthai )
2.3 เครือข่ายพับเน็ต (PubNet )
2.4 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
2.5 เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet )
2.6 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (GITS)
ผู้ให้บริการประเภทที่สองนี้ส่วนมากแล้วจะไม่แสวงหากำไรจะให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ที่สำคัญการใช้งานอินเตอร์เน็ตประเภทนี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ให้บริการเท่านั้นถึงจะใช้งานได้ อาทิ ต้องใช้ในสถานศึกษาหรือเป็นนักศึกษาที่เรียนอยู่ในสถานศึกษานั้นถึงจะใช้อินเตอร์เน็ตได้เป็นต้น
ประเภทการให้บริการของ ISP มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. Narrow band เป็นการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งจะมีความเร็วประมาณ 56 Kbps การเชื่อมต่อกับ ISP ประเภทนี้จะต้องดูว่า โมเด็มที่ใช้งานสามารถเชื่อมต่อหรือเป็นประเภทเดียวกับ ISP ด้วยหรือไม่เพราะ ISP แต่ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน
2. Broadband ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบันซึ่งการเชื่อมต่อกับ ISP จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตรง ทำให้มีความเร็วในการใช้งานที่สูงขึ้น โดยผู้ให้บริการได้กำหนดมาตรฐานความเร็วในการใช้งานไว้ที่ ความเร็ว 500Kbps ไปจนถึง 2.5 Mbps ซึ่งโมเด็มที่ใช้จะเป็น ADSL MODEM ซึ่งโมเด็มประเภทนี้สามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 6 Mbps และดาว์โหลดจะมีความเร็วในการดาว์โหลดที่สูงกว่า 6 Mbps
การเชื่อมต่อกับ ISP มีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในยุคแรก ซึ่งจะเชื่อมต่อผ่านสายโทนศัพท์ ระหว่างการเชื่อมต่อจะได้ยินเสียงสัญญาณในการต่อทุกครั้ง โดยการใช้งานการเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่ค่อยมีความเสถียร และมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 56 kbps
2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่ดีกว่าแบบ Dial Up แต่ก็ยังเป็นการเชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์อยู่ แต่ความเร็วในการใช้งานจะมากกว่าพร้อมกันนั้นยังสามารถจะคุยโทรศัพท์ระหว่างการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
3. การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) เป็นการเชื่อมต่อที่เรียกได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าการเชื่อมต่อ Dial Up และ ISDN มาก แต่ความเร็วที่ได้มาจะไม่แน่นอนซึ่งเป็นข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบนี้
4. การเชื่อมต่อแบบ Cable TV เป็นการเชื่อมต่อที่ผ่านสายเคเบิลทีวีด้วยการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตและสัญญาณภาพและเสียงมาพร้อมกัน การใช้งานอินเตอร์เน็ตจะสามารถใช้พร้อมกับการดูเคเบิลทีวีได้เลยแต่ข้อเสียก็คือถ้ามีผู้ใช้งานในเวลาเดียวกันมาก ๆอาจจะทำให้ความเร็วในการใช้อินเตอร์เน็ตต่ำลงไปด้วย
5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) การเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่นิยมใช้งานกันเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและความเร็วในการใช้งานก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยเช่นกัน
สรุปแล้ว ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นมีความสำคัญต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างมาก เพราะเป็นเหมือนกับประตูในการให้ข้อมูลที่เราร้องขอจากภายนอกเข้ามาแสดงยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่หรือข้อมูลที่เราส่งออกไปสามารถผ่านออกไปสู่โลกภายนอกได้ ในอนาคตเชื่อได้ว่าถ้ามีการแข่งขันระหว่าง ISP จำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ถูกลงและมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS 1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS   การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

ระบบ SAP

       ระบบ  SAP                 SAP เป็นระบบขนาดใหญ่ที่ได้รวมเอาโซลูชั่นต่างๆ เข้ามารวมไว้ในระบบ โดยสามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานเฉพาะโซลูชั่นที่ต้องการได้ และหากมีหลายโซลูชั่นก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม ปัจจุบันนี้โปรแกรมเมอร์มากมายต่างหันมาสนใจ SAP กันมากขึ้น โซลูชั่นที่ SAP รองรับนั้นมีมากมาย อาทิ ระบบไฟแนนซ์ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบคนไข้ในโรงพยาบาลบางแห่ง โดยระบบงานต่างๆ ในแต่ละส่วนเหล่านี้เอง คือ ส่วนที่เรียกว่า "โมดูล" หากคุณจะเริ่มศึกษา SAP นั้นคุณจะต้องทราบก่อนว่าคุณจะศึกษาในส่วนใด และนำไปใช้กับงานลักษณะใด ซึ่ง SAP จะแบ่งระบบงานต่างๆ แยกย่อยเป็นโมดูล ซึ่งแต่ละโมดูลเป็นอิสระต่อกัน และสามารถนำเอาข้อมูลในแต่ละส่วนมาเชื่อมโยงกันได้                SAP ประกอบไปด้วยการทำงานมี 3 ลักษณะคือ Functional ,Basis ,Abap Programming จะแบ่งเป็น R3 และ Net Weaver Version - Functional คือ ลักษณะงานเป็นแบบ Consultant คือให้คำปรึกษา, วางรูปแบบการทำงาน จัดการ Process ต่า