Green Technology
เทคโนโลยี
เราก็มักจะนึกถึงแอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างชิ้นงานหรือความรู้ เพราะคำว่า Green Technology หรือเทคโนโลยีสีเขียวเป็นวิวัฒนาการ,
วิธีการและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการ แก้ไข
ปรับแต่งให้การทำงานของผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดปัญหา
ซึ่งผลที่ได้จากการใช้งานของวิธีการและอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
สะอาดขึ้น
ความเป็นมาและแรงผลักดัน
ขณะนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายๆคน
จะเห็นว่า มีหลายภาคองค์กรธุรกิจนิยมใช้คำว่า Green เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าและบริการของตน
ซึ่งองค์กรธุรกิจเหล่านี้ ต้องการสื่อสารให้ภายนอก หรือ กลุ่มลูกค้าของบริษัท
ได้รับรู้ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การปรับปรุง แก้ไข
และลดปัญหาของสินค้าและบริการที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
รวมถึงเป็นการแสดงออกในความรับผิดชอบต่อสังคมที่องค์กรธุรกิจนั้นมี และ Green IT ก็เป็นแนวทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง
ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
และส่งผลกระทบให้น้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงอายุการใช้งาน
ที่มาเนื่องมาจากการตื่นตัวกับปัญหาภาวะโลกร้อน
(Global Warming) ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สั่งสมมานานหลายปี
และได้รับความสนใจมาโดยตลอด ภาวะโลกร้อนเกิดจากผลของปฏิกิริยาเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นผลพวงจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) ที่เกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการบริโภคพลังงานของมนุษยชาติ
อันเป็นแหล่งก่อกำเนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลกและกลายเป็นฉนวนกักเก็บรังสีความร้อนจากดวง
อาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศของโลกสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา
แหล่งกำเนิดก๊าซคาร์บอน-ไดออกไซด์ มักถูกมุ่งความสนใจไปที่ผลพวงจากการใช้ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์
โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ในฐานะผู้ก่อความเสียหายหลัก
แต่การใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากครัวเรือนและจากการใช้ระบบไอที (Information Technology : IT) ที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ทั้งในระดับส่วนบุคคล ธุรกิจ
และอุตสาหกรรม ยังคงถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
ความหมายของ Green IT
Green IT หรือเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ
แนวคิดในการบริหารจัดการ และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ลดการสร้างขยะ รวมถึงการนำขยะอิเลคทรอนิคส์มารีไซเคิลใหม่อีกด้วย
เป้าหมายสูงสุด คือ
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ หรือขยะอิเล็คทรอนิคส์ต้องถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด
และไม่มีส่วนประกอบที่ทำจากสารพิษ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต้องใช้พลังงานน้อยลง
แต่มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ตามแนวคิดที่ว่า "Maximum Megabytes for Minimum
Kilowatts" ซึ่ง Green Computing ก็ถือเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งที่นิยมใช้กันในองค์กรอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
Green Computer
Green Computer เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอื่นๆ
ประกอบไปด้วยพลังงานหน่วยประมวลผลศูนย์กลางที่มีประสิทธิภาพ (ซีพียู)
เครื่องเซิร์ฟเวอร์
และอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการทำงานของทรัพยากรและการจัดการเรื่องการสิ้นเปลืองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
(e-Waste)
- ให้ซีพียูและอุปกรณ์เสริมต่างๆ
ที่ไม่ได้ใช้งาน ลดการใช้พลังงานลง
- ลดพลังงานและการจ่ายไปให้แก่อุปกรณ์เสริมที่ไม่ได้ใช้งานนาน
เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์
- ให้หันมาใช้จอภาพหรือมอนิเตอร์ในแบบ
Liquid-Crystal-Display (LCD) แทนการใช้มอนิเตอร์ Cathode-Ray-Tube (CRT)
- ถ้าเป็นไปได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป
เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปจะกินไฟและใช้พลังงานมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
- ใช้ฟีเจอร์
Power-Management ให้ปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์
และหน้าจอมอนิเตอร์หากไม่ได้มีการใช้งานติดต่อกันนานๆ หลายนาที
- ใช้กระดาษให้น้อยที่สุด
และถ้าเป็นไปได้ก็ให้นำกระดาษกลับมาใช้งานหมุนเวียนอีก
- ลดการใช้พลังงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์กสเตชัน
เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์กและข้อมูลส่วนกลาง
Green Computing เป็นการศึกษาถึงแนวทางในการปฏิบัติ
เพื่อให้มีการใช้งานทรัพยากรของระบบประมวลผลให้ได้ประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่าที่สุด
เมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้า และวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้งานไป
โดยแนวทางในการใช้งานเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ทางด้านการประมวลผลที่ดำเนินการไปตามแนวทางของ
Green Computing นั้นจะยึดหลัก 3
ประการด้วยกันที่เรียกว่า Triple Bottom Line”ประกอบด้วย
1. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic viability)
2. การรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility)
3. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact)
ซึ่งอาจจะแตกต่างออกไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วๆ ไปบ้าง
ที่มีจุดมุ่งหมายอยู่เฉพาะที่หัวข้อทางด้านการเจริญเติบโตของธุรกิจเท่านั้น
เมื่อได้มีการนำโซลูชั่นทางด้านระบบประมวลผลเข้ามาใช้งาน
หลัก 3 ประการข้างต้นที่แนวทางของ Green Computing เริ่มต้นนำมาใช้งาน มีความหมายในทิศทางเดียวกัน
กับการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น
ด้านวัตถุดิบที่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมสูงอย่างตะกั่ว เป็นต้น
รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้พลังงานให้สูงมากขึ้น กับการนำวัตถุดิบกลับมาใช้งานใหม่ได้
(Recyclability) ของทั้งตัวผลิตภัณฑ์เองและสิ่งที่ปล่อยออกมาจากโรงงานจากกระบวนการสร้าง
ผลิตภัณฑ์นั้นๆ
การนำแนวทางของ Green Computing ไปใช้งานโดยทั่วๆ ไปนั้น
เป็นการนำหลักการเบื้องต้นบางข้อหรือทั้งหมด ไปปรับให้สภาพแวดล้อมในการใช้งานระบบประมวลผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ผู้จัดการทางด้านระบบไอที
เลือกที่จะเพิ่มอุปกรณ์แบบ Thin Client ที่ผ่านการรับรองจาก
EPEAT (Electronics Products
Environment Assessment Tool) เข้ามาใช้งานกับบางแผนกในองค์กร
แทนที่จะเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ desktop ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบทางด้านการใช้พลังงานและการดูแลรักษาแล้ว
ก็จะได้ระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและทรัพยากรมากกว่า เป็นต้น
แนวทาง
ปฏิบัติในการนำ Green Computing มาใช้ในองค์กร
1. การนำแนวทางของ Green Computing เข้ามาใช้งานกันในแต่ละองค์กรที่มีความแตกต่างกัน
ดังนั้นทุกองค์กรที่มีการนำระบบไอทีเข้ามาใช้งาน
จะต้องมีการประเมินระบบของตนเองใหม่ เพื่อนำแนวความคิดของ Green Computing เข้ามาปรับเปลี่ยนการใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นด้านของอุปกรณ์หรือด้านนโยบายการใช้งาน แนวทางปฏิบัติในการนำแนวคิด Green Computing เข้ามาใช้งานมีอยู่ 3
แบบด้วยกันคือ
2. ปรับเพิ่มการใช้งานอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Pilot Study) : กลุ่มนี้จะเน้นการคงไว้ซึ่งโครงสร้างของระบบไอที
และนโยบายการใช้งานที่มีอยู่เดิมไว้ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มเสริมโซลูชั่นทางด้านรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาให้รวมเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกันกับระบบเก่า เช่น
การเลือกนโยบายในการจัดการด้านพลังงานสำหรับอุปกรณ์ประมวลผล
การปรับเปลี่ยนทางด้านนี้เป็นเรื่องที่ไม่ยากมากนัก
ไม่ต้องสร้างเป็นแผนงานที่เฉพาะเจาะจง และต้องการเพียงแค่การปรับเปลี่ยนนโยบายทีละเล็กน้อย
3.เพิ่มแผนการปรับเปลี่ยนเข้าไปในกลยุทธ์ขององค์กร
(Parallel Strategy): กลุ่มนี้จะมองว่า
ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคม
เป็นแนวทางหลักหนึ่งในกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจ และมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
และนโยบายทางด้านระบบประมวลผลหรือไอทีในแบบเก่าออกไปเลย
โดยอาศัยเหตุผลทางด้านความคุ้มค่าจากค่าใช้จ่ายที่ลงทุน (เปลี่ยนระบบ) ไป เช่น
แผนกไอทีตัดสินใจเปลี่ยนคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท้อปออกไปจากแผนกใดๆ เลย
แล้วปรับเปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มแบบ Thin Client แทน เป็นต้น
4. ปรับเปลี่ยนทั้งหมดในคราวเดียว (Direct Cut Over) : กลุ่มนี้จะมองว่าอุปกรณ์ระบบประมวลผลในองค์กรของตน
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
โดยเฉพาะในองค์กรที่มีการนำระบบไอทีมาใช้งานเป็นเวลานาน และอุปกรณ์ที่ใช้งานเหล่านั้นเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าที่ไร้ประสิทธิภาพทางด้าน
การใช้พลังงานโดยสิ้นเชิงจึงมีความคุ้มค่าที่จะลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
ทั้งหมด
แนวทาง
ปฏิบัติของ Green
IT
Virtualization
เทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์ Server ที่มีอยู่นำมารวมกันในทาง Logical เพื่อแบ่งเบาและกระจายภาระหน้าที่หรือ Load ใดๆ ของเครื่อง Server เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่ทำงานหนักเกินไป
โดยกระจายงานนั้นออกไปยังเครื่อง Server เครื่องใดๆ
ที่ยังอยู่ในสภาวะ Idle
หรือ Load น้อยให้ช่วยทำงานนั้นๆ
ซึ่งหลักการของการ Virtualization หรือการ Consolidate Server ถ้าอยู่ในแวดวงของการทำธุรกิจ
แนวความคิดนี้ก็ไปตรงกับแนวคิดของผู้บริหารที่อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
อย่างในยุคปัจจุบันคือเรื่องของ Profit Maximize ซึ่งที่จริงมันก็คือการที่องค์กรจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิ่งที่มีประโยชน์
สูงสุด โดยลงทุนหรือลดต้นทุนให้น้อยที่สุดนั่นเอง
Power
Management (การจัดการพลังงาน)
แนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรจึงสามารถประหยัดพลังงาน ประหยัดไฟฟ้า
และลดการเกิดความร้อนที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด
โดยแนวคิดนี้ก็คือหลักการเดียวกันกับตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศที่มีเบอร์ 5 และอุปกรณ์ Power Supply ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีมาตรฐานนี้รับรองเช่นเดียวกันคือ 80 Plus ที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 20%
มาตรฐานทางด้านอุตสาหกรรมแบบเปิดที่เรียกว่า
Advanced Configuration and Power
Interface (ACPI) ได้เปิดช่องทางให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าจัดการการใช้พลังงานของอุปกรณ์
ต่าง ๆ ได้โดยตรง ตามลักษณะการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ
ด้วยมาตรฐานนี้ช่วยให้ระบบสามารถปิดการทำงานของอุปกรณ์บางส่วน เช่น ฮาร์ดดิสก์
มอนิเตอร์ เป็นต้น ลงไปเมื่อไม่มีการทำงานช่วงเวลาหนึ่ง
และยังรวมไปถึงการปิดการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบลงไปแทบจะทั้งหมด แบบ Hibernate รวมถึงการปิดหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักของระบบลงไปด้วย
ซึ่งจะช่วยลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าลงไปได้อย่างมากมาย
และเพื่อให้สามารถคืนการทำงานให้ระบบกลับมาเหมือนเดิม อุปกรณ์บางชิ้น เช่น
คีย์บอร์ด เน็ตเวิร์กการ์ด หรืออุปกรณ์ USB เป็นต้น
ต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงไว้
เพื่อรอการกดจากผู้ใช้งานให้ระบบกลับคืนมาสู่สภาวะพร้อมทำงานอีกเหมือนเดิม อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกบางชิ้นก็มีระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าอยู่ในตัวเอง
อย่างเช่น เครื่องพิมพ์ จอแสดงผล สแกนเนอร์ ลำโพง และฮาร์ดดิสก์ภายนอก เป็นต้น
สามารถปิดการทำงานของตัวเองลงไปได้ เมื่อผ่านระยะเวลาที่ไม่มีการใช้งานช่วงหนึ่งไป
สกรีนเซฟเวอร์ไม่ ลดการใช้พลังงาน
ถ้าสกรีนเซฟเวอร์ที่แสดงผลภาพขึ้นมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานกว่า 5 นาทีขึ้นไป
นั่นแสดงว่ากำลังเสียพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะโปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์
ถูกออกแบบมาเพื่อช่วย
ยืดอายุของจุดภาพบนหน้าจอรุ่นเก่าที่ในหลอดภาพมีฟอสฟอรัสบรรจุอยู่ภายใน
แต่โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ไม่ได้ช่วยอะไรเมื่อใช้งานกับจอ LCD และไม่ได้ช่วยให้มีการประหยัดพลังงานแต่อย่างใด
สกรีนเซฟเวอร์ที่แสดงผลด้วยการเลื่อนภาพบางอย่างไปมาบนหน้าจอ มีอัตราการใช้พลังงาน ไฟฟ้าในระดับเดียวกันกับการใช้งานแบบปกติ และถ้าเป็นโปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ที่ต้องให้หน่วยประมวลผลช่วยประมวลผลด้วย
แล้ว จะยิ่งเพิ่มอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าขึ้นไปอีกโดยปริยาย
ถ้าจะเลือกใช้งานสกรีนเซฟเวอร์ที่ช่วยลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า
การเลือกสกรีนเซฟเวอร์แบบ Blank
จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด แม้ว่าจะช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานได้น้อยมากก็ตาม
Materials
Recycling
ถึงแม้ว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะไมสามารถนำไป Recycle ได้ แต่การใช้งานอย่างคุ้มค่าตามความเหมาะสมกับงาน
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อมีโปรแกรมใหม่ๆ เข้ามา
การดูแลรักษาให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ
ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการรักษาโลกร้อนและใช้งานตามแนวทางของ Green computing ได้
Telecommuting
เทคโนโลยีการสื่อสารแบบทางไกล Telecommuting ที่ช่วยให้สามารถเปิดโลกของการสื่อสารได้หลายช่องทางและไร้พรมแดน
ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้นผ่านระบบที่เรียกว่า Teleconference โดยระบบนี้สามารถสื่อสารกันในลักษณะ Remote ที่ต่างฝ่ายต่างอยู่กันคนละที่ แต่พบปะ นัดหมายพูดคุย
และประชุมงานร่วมกันได้แทนการออกไปเผาผลาญน้ำมันรถ และประหยัดเวลาการเดินทาง
โดยอีกฝ่ายต่างเห็นหน้าของอีกฝ่ายผ่านจอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์แทนโดยใช้
อินเตอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ซึ่งการประชุมแบบ Teleconference นี้จะเห็นภาพและเสียงของผู้เข้าร่วมประชุม
อีกทั้งยังสามารถรับส่งไฟล์ได้ด้วย ทั้ง Video, Voice และ Data
Green Data Center
ศูนย์กลางข้อมูลสีเขียว คือ
การใช้งานทางด้านการจัดเก็บข้อมูล
การจัดการทางด้านข้อมูลและการแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องจักร
อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พลังงานสูงสุดแต่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ทั้งการออกแบบการคำนวณจะเน้นศูนย์กลางข้อมูลสีเขียวรวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูงและยุทธศาสตร์ต่างๆ
เช่น
-ใช้อุปกรณ์ที่แผ่กระจายแสงได้น้อยๆ
อย่างการปูพรม
-การออกแบบที่สนับสนุนสภาพแวดล้อม
-ลดการสิ้นเปลืองโดยการนำกลับมาใช้ซ้ำ
สภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานระบบไอที
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่นี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม
ซึ่งเมื่อใช้งานอยู่ก็คงไม่รบกวนโลกมาก แต่พอเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง
เราก็อัพเกรด จวบจนวันหนึ่งที่ไม่สามารถอัพเกรดได้ก็ต้องเอาไปขายเป็นเศษเหล็ก
ซึ่งก็ได้เงินมาไม่กี่บาท แต่ขยะคอมพิวเตอร์
ซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็ไม่สามารถย่อยสลายได้ แถมยังก่อมลพิษทางด้านอากาศ
สิ่งแวดล้อมให้แก่โลกอีกด้วย เพราะในส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เรานั้น
ก็มีทั้งที่ประกอบไปด้วย พลาสติก อะลูมิเนียม สังกะสี และอื่นๆ
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานได้คิดประดิษฐ์นำเอาไม้ไผ่เข้ามาเป็นส่วนประกอบกับอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น คีย์บอร์ด หน้าจอมอนิเตอร์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
หรือเดี๋ยวนี้ถุงพลาสติกที่เราใส่ของก็ย่อยสลายยาก
จนบางห้างสรรพสินค้ารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกเพื่อลดการเปิดปัญหาโลกร้อนหลายคนกำลังรณรงค์ไม่ให้โลกร้อนเกิดขึ้นในอนาคต
โดยให้ทุกคนบนโลกช่วยกันแก้ปัญหา และร่วมมือทั้งการปิดแอร์เมื่อไม่ใช้งาน
ดับเครื่องรถยนต์เมื่อต้องจอดรอเป็นเวลานานๆ
และอีกหลายร้อยวิธีที่ช่วยให้โลกของเราอยู่ร่วมกับเราไปได้อีกนาน
ต้องช่วยกันตั้งแต่วันนี้
มาตรฐาน Energy Star 4.0

โครงการ Energy Star ก่อกำเนิดขึ้นในปี 1992 โดย United States Environmental
Protection Agency (EPA) แห่งสหรัฐอเมริกา
และมาตรฐาน Energy
Star 4.0 ได้มีการกำหนดการประกาศใช้เป็นสองขั้น
(Tier) ซึ่งในขั้นแรก (1st Tier) ได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่
20 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมาและในขั้นที่สอง
(2nd Tier) ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2552 ซึ่ง EPA ตั้งเป้าหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ
จะต้องมีระบบ Power
Management ที่ 40% ภายในปีพ.ศ.2553 60% ภายในปี พ.ศ.2555 และมากกว่า 80% ภายในปี พ.ศ.2557
ที่มา
https://www.ksc.net/greenit/green_technology.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น