ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

WiMAX


WiMAX
WiMAX :Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 และได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16d ให้รองรับการทำงานแบบจุดต่อจุด ขึ้นโดยได้เผยแพร่เอกสารมาตรฐานฉบับสมบูรณ์เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE: Institute of Electrical and Electronics Engineers) ในช่วงแรกมาตรฐาน IEEE802.16 ได้ออกแบบให้ส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุด(Point-to-Point) จึงทำให้ส่งข้อมูลได้ระยะไกลส่งข้อมูลได้ระยะห่าง 30 ไมล์ (ประมาณ 50 กิโลเมตร) ด้วยอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps)
จากความต้องการใช้งานบอร์ดแบนด์ไร้สายในขณะเคลื่อนที่ทำให้สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้กำหนดมาตรฐาน IEEE802.16 ทำการศึกษาและพัฒนามาตรฐาน IEEE802.16 ให้รองรับการใช้งานแบบเคลื่อนที่โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า IEEE 802.16e มาตรฐานใหม่นี้มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง (ต้นไม้ อาคาร) ได้เป็นอย่างดี มาตรฐาน IEEE 802.16e นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 จิกะเฮิรตซ์(GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐาน IEEE802 ชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
จากจุดเด่นข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่สายเคเบิลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น วายแมกซ์ ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (video) งานเสียง (voice) และข้อมูล (data) ภายใต้เทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายไร้สายชื่อว่า OFDMA อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่ายและข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบนมาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น
ความสามารถในการขยายสัญญาณ
วายแมกซ์ มีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์ ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอดคล้องกับแผนการติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ หรือย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก เช่น โอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้นได้รับความถี่ 20 MHz ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นจะอยู่ที่ 10 MHz หรือจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนๆ ละ 5 MHz ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้อีกด้วย
การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS - Quality of Service) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน วายแมกซ์ มีคุณสมบัติด้าน QoS ที่รองรับการทำงานของบริการสัญญาณเสียงและสัญญาณวิดีโอ
ระบบรักษาความปลอดภัย
โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ในมาตรฐาน วายแมกซ์ จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน วายแมกซ์ นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณืที่ใช้มาตรฐานไร้สายระบบใหม่ ทั้งนี้มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันทั่วไปว่า วายแมกซ์ เช่นเดียวกับมาตรฐาน IEEE 802.11 ที่รู้จักกันในชื่อ Wi-Fi

 ลักษณะเด่นของ WiMAX
    1. สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสายเคเบิลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี
2. ประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้ว  เนื่องจากไม่ต้องลงทุนขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิ้ลใยแก้วใหม่ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่
  3. ตอบสนองความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 
4. WiMAX ช่วยให้ Operator ต่างๆ สามารถจัดสรรงานบริการที่มีความเร็วสูงเทียบเท่าระบบเครือข่ายแบบใช้สายได้  โดยใช้เวลาการติดตั้งน้อย ราคาถูกกว่ามาก  และยังช่วยให้มีการจัดเตรียมการใช้งานระบบสื่อสารความเร็วสูงในรูปแบบตามความต้องการได้ในทันทีทันใด โดยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำงานในแบบชั่วคราว อาทิเช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานประชุม การจัดแสดงสินค้า  เป็นต้น
  5. รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา  เหมาะสำหรับอุปกรณ์ในแบบพกพาสำหรับการเดินทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี  และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน  แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
WiMAX ในประเทศไทย
    สำหรับ WiMAX ในประเทศไทย โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่และการกำหนดระเบียบข้อบังคับต่างๆ สำหรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยี WiMAX  เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายในประเทศไทย ได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 โดยทาง กทช. ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ศึกษาแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี  WiMAX  ในเบื้องต้น ตามรายงานการศึกษาแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี WiMAX  ในประเทศไทย
ในขณะเดียวกัน กทช.ได้มีประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนความถี่วิทยุ Broadband Wireless Access (BWA) เพื่อการทดลองหรือทดสอบ (รวมถึง WiMAX ) โดยประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124  ตอนพิเศษ 92 ง  ลงวันที่ 3  สิงหาคม 2550 โดยมีสาระสำคัญดังนี้.

1. ย่านความถี่ที่ใช้งาน มี 4 ย่านดังนี้
- 2300 - 2400 MHz
- 2500 - 2520 และ 2670 - 2690 MHz
- 3300 -  3400 MHz
- 3400 - 3700 MHz
2. เงื่อนไขการใช้งานความถี่วิทยุ
    - การทดลองหรือทดสอบต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว
- การทดลองหรือทดสอบสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ที่เป็นมาตรฐานสากล
  - เครื่องวิทยุคมนาคมที่นำมาทดลองหรือทดสอบ ต้องได้รับใบอนุญาตตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติประกาศกำหนด
  - การทดลองหรือทดสอบในย่านความถี่วิทยุที่ได้ถูกจัดสรรให้กับกิจการอื่นแล้ว ผู้ทดลองหรือทดสอบต้องแจ้งถึงแผนการทดลองหรือทดสอบและผลกระทบที่คาดว่าจะ เกิดแก่กิจการดังกล่าวให้ผู้ได้รับการจัดสรรความถี่วิทยุทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจะแจ้งรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรร ความถี่วิทยุให้ทราบ
- การทดลองหรือทดสอบใดที่ก่อให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงต่อกิจการที่ได้รับการ จัดสรรความถี่วิทยุอยู่ก่อนแล้ว หรือในกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการรบกวนการใช้ความถี่วิทยุจะต้องหยุดการทดลองหรือทดสอบทันที เว้นแต่กรณีที่ได้มีข้อตกลงร่วม หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่ได้รับการจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับกิจการดัง กล่าว ว่าสามารถทดลองหรือทดสอบด้านการรบกวนระหว่างกิจการ หรือการอยู่ร่วมกันระหว่างกิจการ
- การทดลองหรือทดสอบตามบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีการประสานงานชายแดน
 - เมื่อการทดลองหรือทดสอบเสร็จสิ้น ต้องรายงานผลการทดลองหรือทดสอบ รวมถึงการรบกวนระหว่างกิจการ เงื่อนไขการอยู่ร่วมกันระหว่างกิจการ และประสิทธิภาพการใช้ความถี่วิทยุ  ต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
กทช.ได้มีมติที่ประชุม ครั้งที่ 44/2550 เมื่อวันที่ 22  พฤศจิกายน  2550 อนุญาตให้มีการใช้ความถี่เพื่อทดลองบริการ Broadband Wireless Access (BWA) ซึ่งรวมถึง WiMAX และต่อมาได้อนุมัติให้บริษัทเอกชนทำการทดลองทดสอบเพื่อให้บริการ WiMAX ในหลายพื้นที่ เพื่อเป็นการดูประสิทธิภาพในทางเทคนิคและผลกระทบจากการใช้งาน และจะได้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนคลื่นความถี่วิทยุในกิจการ  Broadband Wireless Access  ทั้งนี้ได้ออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว (WiMAX) ให้กับบรรดาบริษัทเอกชน จำนวน 18 ราย  ได้แก่ บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด, บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด, บริษัท ทรานส์ แปซิฟิก เทเลคอม (ประเทศไทย) จำกัด,บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน), บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) และ  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรูมูฟ จำกัด, บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ จำกัด, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท แพลนเน็ตคอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเค ชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท อีซี่ ซิสเต็ม เทเลคอม จำกัด, บริษัท วิน วิน เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด, บริษัท มิลคอมซิสเต็มซ์ จำกัด โดยมีระยะเวลาทดสอบ 90-180 วัน ซึ่งสำนักงาน กทช. ได้มีประกาศให้ยุติการจัดสรรความถี่เพื่อทดสอบทดลอง BWA ชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 หลังจากทดลองเสร็จจะนำผลการทดลองมาประกอบการตัดสินใจจัดทำแผนความถี่วิทยุสำหรับ Broadband Wireless Access (BWA) เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาต BWA หรือที่เรียกกัน WiMAX 
ปัจจุบันแม้ว่าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ยังไม่เปิดการอนุมัติใบอนุญาต WiMAX เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ แต่ได้มีการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 2.5 GHz สำหรับติดตั้งเทคโนโลยี WiMAX  ในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง (USO) ในพื้นที่ 4 จังหวัด ใน 4 โครงการ อาทิเช่น โครงการนำร่องเทคโนโลยี WiMAX ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช  กระทรวงสาธารณสุข  และ กทช.  โดย กทช. สนับสนุนงบประมาณ 20 ล้านบาท ทั้งนี้ การทดลอง WiMAX  ดังกล่าว จะช่วยให้แพทย์ที่โรงพยาบาลกับเจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัยสามารถปรึกษาหารือและประสานงานกันได้ทันทีทันใด สำหรับโครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินโครงการหนึ่งปี ตั้งแต่ธันวาคม 2551 ถึง พฤศจิกายน 2552 และจะมีการประเมินโครงการเพื่อเสนอต่อ กทช. ต่อไป  และอีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการศูนย์ต้นแบบทางไกลเพื่อการศึกษาและพัฒนาชนบทเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก กทช. ทีทีแอนด์ที และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  โดยให้บริการ WiMAX กับโรงเรียน 21 แห่งที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งนำ WiMAX ไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อาทิ การใช้ห้องสมุดดิจิตอลและห้องเรียนเสมือนจริง เป็นต้น ทั้งนี้  WiMAX ยังช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา WiMAX ช่วยให้ครูและนักเรียนที่อยู่ไกลกันสามารถเห็นหน้าเห็นตากันและยังช่วยให้ครูสามารถส่งสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการทดลองทดสอบ WiMAX ในประเทศไทย
1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เริ่มทำการทดสอบให้บริการไวแมกซ์ โดยติดตั้งเสาสัญญาณในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน  3  แห่ง คือ ตำบลข่วงสิงห์, ต้นพะยอม และช้างคลาน ใช้คลื่นความถี่  2.3  และ  2.5         กิกะเฮรตซ์ ใช้อุปกรณ์ของบริษัทแซดอีที, โมโตโรล่า และบริษัท อินเทล จากการทดสอบ สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ต บรอดแบนด์ไร้สาย มีรัศมีจากเสาสัญญาณประมาณ  5  กิโลเมตร จากปกติไวแมกซ์จะมีรัศมีให้บริการประมาณ 30 กิโลเมตร แต่ถ้าอยู่ในเขตเมือง มีตึกรัศมีอาจลดลงเหลือประมาณ 10  กิโลเมตร และมีบางช่วงมีคลื่นความถี่ที่มีการใช้งานอยู่เดิม รบกวนการให้บริการเป็นระยะ
2. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกับบริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด ดำเนินการทดลองทดสอบให้บริการไวแมกซ์ ที่ย่านความถี่ 2.5 กิกะเฮรตซ์ โดยเลือกพื้นที่ทดสอบที่จังหวัดชลบุรีเพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูง และมีกลุ่มลูกค้าผู้ใช้งานหลากหลาย สามารถทำการทดสอบได้หลายรูปแบบและมีความพร้อมทางด้านโครงข่ายพื้นฐานและมีสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องการเชื่อมโยงระบบสื่อสัญญาณ โดยใช้อุปกรณ์ระบบ Wireless Broadband ยี่ห้อ MOTOROLA รุ่น Expedience ครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ได้ติดตั้งสถานีฐานเพื่อทดสอบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 3 แห่ง คือที่ศูนย์โทรคมนาคมชลบุรี ชุมสายเขาบางทราย และอาคารที่พักอาศัยบริเวณอำเภอเมือง และอุปกรณ์ลูกข่าย จำนวน 22 ชุด แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ แบบที่ใช้ภายในอาคาร หรือ Indoor CPE จำนวน10 ชุด และ แบบภายนอกอาคาร หรือ Outdoor CPE จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งทดสอบที่โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานศึกษา ร้านค้า บ้านพักอาศัย แบบพีซีไอ การ์ด หรือ PCI Card จำนวน 5 ชุด เพื่อติดตั้งให้ใช้งานกับโน้ตบุกที่สถานศึกษา สำนักงานที่ดิน บริษัทเอกชน และแบบชนิดติดรถยนต์ หรือ Mobile CPE จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้กับรถตำรวจ โดยที่รูปแบบบริการที่ทำการทดสอบ เช่น บริการวิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์, บริการโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต, ทีโอทีเน็ตคอลล์ และ วีโอไอพี, บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง เป็นต้น มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร รองรับลูกค้าได้สูงสุด 50-100 รายต่อสถานีฐาน มีความเร็วดาวลิงค์สูงสุด 8 เมกะบิตต่อวินาที ผลการทดสอบการใช้อุปกรณ์ CPE (รุ่น RSU) ในลักษณะ Indoor
  3. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)ได้ทดสอบการใช้งานเทคโนโลยีไวแมกซ์ ที่ย่านความถี่ 2.5 กิกะเฮิรตซ์  ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ มีความหลากหลายในการใช้งานเทคโนโลยี คือเป็นพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น และพื้นที่ด้านเปิดโล่งเพื่อการทดสอบพื้นที่ให้บริการ โดยใช้เทคโนโลยีของบริษัท อินเทล คอร์ป ผู้ผลิตชิพรายใหญ่ของโลก ผลการทดสอบสอดคล้องกับตามมาตรฐานเทคโนโลยี   ไวแมกซ์  โดยอัตราความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด (Downlink) 10 เมกะบิตต่อวินาที และความเร็วในการอัพโหลดข้อมูล (Uplink) อยู่ที่ 4 เมกะบิตต่อวินาที

ที่มา
 https://th.wikipedia.org/wiki/วายแมกซ์
http://www.sat2you.com/board/index.php?/topic/847-wimax-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ( computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS

คุณลักษณะของระบบสารสนเทศ TPS, MIS, DSS, EIS 1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ ( Transaction Processing System : TPS)      ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS   การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ      – ลดจำนวนพนักงาน      – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว      – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS)      ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย คุณสมบัติของระบบ MIS คือ

ระบบ SAP

       ระบบ  SAP                 SAP เป็นระบบขนาดใหญ่ที่ได้รวมเอาโซลูชั่นต่างๆ เข้ามารวมไว้ในระบบ โดยสามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานเฉพาะโซลูชั่นที่ต้องการได้ และหากมีหลายโซลูชั่นก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม ปัจจุบันนี้โปรแกรมเมอร์มากมายต่างหันมาสนใจ SAP กันมากขึ้น โซลูชั่นที่ SAP รองรับนั้นมีมากมาย อาทิ ระบบไฟแนนซ์ ระบบบริหารงานบุคคล ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบคนไข้ในโรงพยาบาลบางแห่ง โดยระบบงานต่างๆ ในแต่ละส่วนเหล่านี้เอง คือ ส่วนที่เรียกว่า "โมดูล" หากคุณจะเริ่มศึกษา SAP นั้นคุณจะต้องทราบก่อนว่าคุณจะศึกษาในส่วนใด และนำไปใช้กับงานลักษณะใด ซึ่ง SAP จะแบ่งระบบงานต่างๆ แยกย่อยเป็นโมดูล ซึ่งแต่ละโมดูลเป็นอิสระต่อกัน และสามารถนำเอาข้อมูลในแต่ละส่วนมาเชื่อมโยงกันได้                SAP ประกอบไปด้วยการทำงานมี 3 ลักษณะคือ Functional ,Basis ,Abap Programming จะแบ่งเป็น R3 และ Net Weaver Version - Functional คือ ลักษณะงานเป็นแบบ Consultant คือให้คำปรึกษา, วางรูปแบบการทำงาน จัดการ Process ต่า